ไดโนเสาร์มีปีกคล้ายค้างคาว อาจไขวิวัฒนาการการบิน


ป่าในประเทศจีนเมื่อกว่า 160 ล้านปีที่แล้ว ถือเป็นถิ่นกำเนิดของสัตว์แปลกประหลาด ซึ่งเมื่อปี พ.ศ.2560 นักบรรพชีวินวิทยาได้ขุดพบซากดึกดำบรรพ์หรือฟอสซิล (fossil) ไดโนเสาร์มีขนและปีกชนิดหนึ่งขนาดยาว 32 เซนติเมตร หนัก 306 กรัม ที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งใกล้เมืองหลิงหยวน ในมณฑลเหลียวหนิง ทางภาคตะวันออก เฉียงเหนือของจีน ซากฟอสซิลนี้มีชื่อว่า “ยี ฉี” (Yi Qi)
ขณะนี้ไดโนเสาร์ดังกล่าวได้ชื่อทางวิทยาศาสตร์แล้วว่า Ambopteryx longibrachium ระบุว่ามีชีวิตอยู่เมื่อ 163 ล้านปีก่อนในช่วงยุคจูราสสิก แต่ลักษณะเหมือนค้างคาว บินด้วยปีกที่มีเนื้อเยื่ออ่อนเหมือนพังผืดปกคลุมด้วยขน รองรับกระดูกข้อมือยาวแหลมซึ่งแตกต่างอย่างมากจากปีกขนนก นักบรรพชีวินวิทยาประเมินความสามารถ ในการบินของ Ambopteryx longibrachium ว่ามันน่าจะบินร่อนไปมาระหว่างต้นไม้ เพราะเท้าของมันบ่งบอกถึงพัฒนาการช่วยเกาะบนต้นไม้ หรือมีพฤติกรรมคล้ายพวกกระรอกบิน
นักบรรพชีวินวิทยาเผยว่า การค้นพบ Ambop-teryx longibrachium ได้เปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับต้นกำเนิดของการบินของนก แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าเนื้อเยื่อผิวของปีกนั้นเป็นวิวัฒนาการในไดโนเสาร์บางตัวที่เกี่ยวข้องกับนก และพังผืดที่ปีกของไดโนเสาร์ดูเหมือนจะเป็นการทดลองระยะสั้นของวิวัฒนาการด้านการบิน.
ที่มา : https://www.thairath.co.th (ข่าวจากวันที่16 พ.ค. 2562)

Comments